ประสบการณ์การพัฒนานโยบายสาธารณะด้านสังคม ของ กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์

ปี 2546

ริเริ่มการรณรงค์ “งดเหล้าเข้าพรรษา” ซึ่งผลสืบเนื่องจากโครงการนี้ ทำให้ต่อมา มีการกำหนดให้วันเข้าพรรษาเป็นวันงดดื่มสุราแห่งชาติในเวลาต่อมา และเสนอมาตรการในการห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ระหว่างเวลา 05.00 – 22.00 น.

ปี 2547

ผลักดันให้เกิดเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน เพื่อรณรงค์การลดการบริโภคน้ำตาลในเด็ก และเยาวชน

ปี 2550

การร่วมผลักดันมาตรการต่างเพื่อคุ้มครองเด็ก และเยาวชน อาทิ

  • การจัดระดับความเหมาะสมของรายการโทรทัศน์ (การจัดเรตติ้งรายการโทรทัศน์โดยกำหนดสัญลักษณ์ เช่น ท, น13, ฉ เพื่อจำแนกประเภทของรายการโทรทัศน์ให้เหมาะสมกับวัยของผู้ชม)
  • มาตรการควบคุมการโฆษณาอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่เหมาะสมต่อสุขภาพ ในรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก และเยาวชน
  • คณะกรรมการสื่อปลอดภัย และสร้างสรรค์ เพื่อการดูแลสื่อสำหรับเด็กและเยาวชนและครอบครัว
  • วาระแห่งชาติด้านเด็ก และเยาวชน ปี 2550 – 2551
ปี 2551

การแก้ปัญหาการใช้อินเทอร์เน็ตและเล่นเกมส์ในเด็ก และเยาวชน อาทิ

  • การจัดระเบียบร้านเน็ต และเกมส์
  • การจัดระดับความเหมาะสมของเกมส์ (จัดทำเป็นกฎกระทรวง)
  • การพัฒนาหลักสูตรการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย และสร้างสรรค์ในโรงเรียน
  • การพัฒนากฎหมายเพื่อการดูแลสื่อที่อันตรายสำหรับเด็ก และเยาวชนปี 2552
  • ขับเคลื่อนการแก้ปัญหาไข้หวัดใหญ่ 2009 โดยนายกรัฐมนตรีได้แต่งตั้งให้เป็น
  • คณะอนุกรรมการเพื่อการสนับสนุนการควบคุมป้องกัน และแก้ปัญหาไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่2009